- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 เมษายน 2563
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,391 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,154 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,485 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,233 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,700 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 17,230 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,575 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,046 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 1,133 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,902 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 144 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,458 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,858 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 400 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 331 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,361 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,760 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 399 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4395
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
“เวียดนาม” แตะเบรกส่งออกข้าว 2 เดือน เหลือเดือนละ 4 แสนตัน ดันราคาส่งออกข้าวขาว 5% ไทยขยับเฉียด 600 เหรียญสหรัฐ ด้าน “เอเซียฯ” เตือนรับมือค้าโลกป่วนจากปัญหาค่าเงิน-สภาพคล่องลามเทรดเดอร์โลกเบี้ยวหนี้
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นไรซ์ จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลเวียดนามประกาศให้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 400,000 ตัน จากปกติที่เวียดนามจะส่งออกเดือนละ600,000 - 650,000 ตัน จากผลผลิตข้าวฤดูกาลหลักของเวียดนามกำลังจะหมดฤดูในช่วงเมษายนนี้ จึงต้องการให้มีสต็อกข้าวสำหรับบริโภคภายในประเทศ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น จึงน่าจะส่งผลดี ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยมีโอกาสที่จะได้รับออร์เดอร์ส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ และขณะนี้ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวขาว 5% ตันละ 565-575 เหรียญสหรัฐ ปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ที่ตันละ 500-510 เหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเวียดนามจะลดปริมาณการส่งออกข้าวแล้ว แต่สถานการณ์การส่งออกยังค่อนข้างจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะขณะนี้ตลาดค้าข้าวโลกมีการแข่งขันรุนแรง ผู้ขายยังมีมากกว่าผู้ซื้อ จึงมีการปล่อยเครดิตกันเป็นเวลานาน และทำให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในบางราย เช่น กรณีบริษัท ฟินิกซ์ โบรกเกอร์รายใหญ่ของโลกในตลาดแอฟริกา ติดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ค่าข้าวกับผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยหลายราย ซึ่งขณะนี้ ทางบริษัทโบรกเกอร์ประสานเจรจาเพื่อขอเคลียร์แล้ว เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากทางเทรดเดอร์เสียหายจากธุรกิจอื่น และมาจากปัญหาค่าเงิน ซึ่งกำลังเจรจากับทางสถาบันการเงินอยู่ โดยสถาบันการเงินทั่วโลกก็เริ่มบีบและเบรกการให้สินเชื่อกลุ่ม
เทรดเดอร์แล้ว เบื้องต้นคาดการณ์ว่าความเสียหายกรณีดังกล่าวไม่มากนัก เพราะทางบริษัท เอเชียฯ ได้เตรียมความพร้อม เพิ่มความระมัดระวังล่วงหน้าไว้แล้ว เพราะทราบดีว่าตลาดข้าวหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ จะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ผู้ประกอบการส่งออกข้าวแต่ละรายจึงได้เตรียมป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี”
โดยรายงานข่าวระบุว่า บริษัท ฟินิกซ์ ผิดนัดชำระหนี้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทย จำนวน 5 ราย รวมมูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ต่างชาติหวั่นไวรัสลุยเก็บเข้าสต็อก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องสูงขึ้นเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชายนาเก็บสต็อกข้าวไว้ โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูงขึ้น เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันต้องติดตามราคาข้าวสารบรรจุถุงสำหรับบริโภคและการส่งออกข้าวควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้สถานการณ์ข้าวของไทยกับภัยของโควิด-19 เกิดความสมดุลที่สุด
ด้านนายชูเกียรติ โอกาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ความชื้นไม่เกิน 15% ที่ผู้ส่งออกและโรงสีรับซื้อจากชาวนาอยู่ที่ตันละ 10,000-10,900 บาท ซึ่งสูงสุดในช่วงไม่ต่ำกว่า 10 ปี เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบภัยแล้งและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้นำเข้ารายใหญ่จำนวนมากต้องเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แอฟริกา เป็นต้น หลังจากผู้ส่งออกบางประเทศชะลอส่งออกข้าวชั่วคราวแล้ว
ทั้งนี้ หากการระบาดยังมีต่อเนื่อง คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าของไทยอาจปรับขึ้นไปถึงตันละ 14,000-15,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาสูงและอาจเป็นยุคทองของชาวนาอีกครั้ง และที่สำคัญหากฝนตกตามฤดูกาล เชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรหันไปปลูกข้าวเจ้ากันมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ต้องเข้าใจว่าในเร็วๆ นี้ ราคาข้าวสารถุงอาจปรับขึ้นบ้าง เพราะจะเป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ที่ไม่ใช่มาจากนโยบายของภาครัฐ
“ในช่วงต้นปีราคาส่งออกข้าวขาวไทยประมาณตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ส่วนข้าวสารเดิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.50 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 17.50 บาท หรือเพิ่ม 6 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีหลายประเทศแย่งกันซื้อ เพราะผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนาม กัมพูชา จีน อินเดีย เมียนมา เป็นต้น ประกาศหยุดส่งออกข้าวขาวชั่วคราว”
ที่มา : ไทยรัฐ
เวียดนามกลับมาส่งออกข้าวรักษาความมั่นคงอาหารโลก
นายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุก กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวที่เคยประเทศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และเดิมที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ถึงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
อนึ่ง มีรายงานว่าในตอนนั้นกระทรวงการค้าไม่เห็นด้วยเท่าใดนักกับมาตรการดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเวียดนามปลูกข้าวได้เองและมีการสำรองข้าวไว้บริโภคภายในประเทศมากเกินความต้องการถึง 6.7 ล้านตันเฉพาะปีนี้ ดังนั้นการส่งออกข้าวของเวียดนามควรเดินหน้าต่อไปตามปกติ แต่กระทรวงการคลังจัดทำแผนระงับการส่งออกข้าวเผื่อไว้ถึงกลางเดือนมิถุนายนนี้
อย่างไรก็ตาม หลังยกเลิกแผนการ นายกรัฐมนตรีเวียดนามมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ควบคุมการส่งออกข้าว และเตรียมจัดซื้อข้าว 190,000 ตัน ในปีนี้ เพื่อสำรองไว้สำหรับการบริโคภายในประเทศ โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจะระงับการส่งออกข้าวทันทีที่ครบโควตา
ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และไทย ทั้งปริมาณข้าวจากเอเชียครองส่วนแบ่งในตลาดโลกมากถึงร้อยละ 90 ขณะที่อุปสงค์อยู่ในระดับเท่ากัน และในวิโฟติโรคระบาดเช่นนี้ ความต้องการอาหารบนโลกย่อมสูงขึ้นกว่าปกติ และข้าวเป็นหนึ่งในนั้น โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยที่เปิดเผยกับสำนักงานรอยเตอร์ ระบุว่าราคาเมล็ดข้าวหักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ภายในสัปดาห์เดียว ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-1 เมษายน 2563 ถือเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2556
ที่มา : เดลินิวส์
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,391 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,154 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,485 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,233 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,700 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 17,230 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,575 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,046 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 1,133 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,902 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 144 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,458 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,858 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 400 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 331 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,361 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,760 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 399 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4395
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
“เวียดนาม” แตะเบรกส่งออกข้าว 2 เดือน เหลือเดือนละ 4 แสนตัน ดันราคาส่งออกข้าวขาว 5% ไทยขยับเฉียด 600 เหรียญสหรัฐ ด้าน “เอเซียฯ” เตือนรับมือค้าโลกป่วนจากปัญหาค่าเงิน-สภาพคล่องลามเทรดเดอร์โลกเบี้ยวหนี้
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นไรซ์ จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลเวียดนามประกาศให้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 400,000 ตัน จากปกติที่เวียดนามจะส่งออกเดือนละ600,000 - 650,000 ตัน จากผลผลิตข้าวฤดูกาลหลักของเวียดนามกำลังจะหมดฤดูในช่วงเมษายนนี้ จึงต้องการให้มีสต็อกข้าวสำหรับบริโภคภายในประเทศ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น จึงน่าจะส่งผลดี ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยมีโอกาสที่จะได้รับออร์เดอร์ส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ และขณะนี้ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวขาว 5% ตันละ 565-575 เหรียญสหรัฐ ปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ที่ตันละ 500-510 เหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเวียดนามจะลดปริมาณการส่งออกข้าวแล้ว แต่สถานการณ์การส่งออกยังค่อนข้างจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะขณะนี้ตลาดค้าข้าวโลกมีการแข่งขันรุนแรง ผู้ขายยังมีมากกว่าผู้ซื้อ จึงมีการปล่อยเครดิตกันเป็นเวลานาน และทำให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในบางราย เช่น กรณีบริษัท ฟินิกซ์ โบรกเกอร์รายใหญ่ของโลกในตลาดแอฟริกา ติดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ค่าข้าวกับผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยหลายราย ซึ่งขณะนี้ ทางบริษัทโบรกเกอร์ประสานเจรจาเพื่อขอเคลียร์แล้ว เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากทางเทรดเดอร์เสียหายจากธุรกิจอื่น และมาจากปัญหาค่าเงิน ซึ่งกำลังเจรจากับทางสถาบันการเงินอยู่ โดยสถาบันการเงินทั่วโลกก็เริ่มบีบและเบรกการให้สินเชื่อกลุ่ม
เทรดเดอร์แล้ว เบื้องต้นคาดการณ์ว่าความเสียหายกรณีดังกล่าวไม่มากนัก เพราะทางบริษัท เอเชียฯ ได้เตรียมความพร้อม เพิ่มความระมัดระวังล่วงหน้าไว้แล้ว เพราะทราบดีว่าตลาดข้าวหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ จะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ผู้ประกอบการส่งออกข้าวแต่ละรายจึงได้เตรียมป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี”
โดยรายงานข่าวระบุว่า บริษัท ฟินิกซ์ ผิดนัดชำระหนี้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทย จำนวน 5 ราย รวมมูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ต่างชาติหวั่นไวรัสลุยเก็บเข้าสต็อก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องสูงขึ้นเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชายนาเก็บสต็อกข้าวไว้ โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูงขึ้น เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันต้องติดตามราคาข้าวสารบรรจุถุงสำหรับบริโภคและการส่งออกข้าวควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้สถานการณ์ข้าวของไทยกับภัยของโควิด-19 เกิดความสมดุลที่สุด
ด้านนายชูเกียรติ โอกาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ความชื้นไม่เกิน 15% ที่ผู้ส่งออกและโรงสีรับซื้อจากชาวนาอยู่ที่ตันละ 10,000-10,900 บาท ซึ่งสูงสุดในช่วงไม่ต่ำกว่า 10 ปี เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบภัยแล้งและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้นำเข้ารายใหญ่จำนวนมากต้องเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แอฟริกา เป็นต้น หลังจากผู้ส่งออกบางประเทศชะลอส่งออกข้าวชั่วคราวแล้ว
ทั้งนี้ หากการระบาดยังมีต่อเนื่อง คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าของไทยอาจปรับขึ้นไปถึงตันละ 14,000-15,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาสูงและอาจเป็นยุคทองของชาวนาอีกครั้ง และที่สำคัญหากฝนตกตามฤดูกาล เชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรหันไปปลูกข้าวเจ้ากันมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ต้องเข้าใจว่าในเร็วๆ นี้ ราคาข้าวสารถุงอาจปรับขึ้นบ้าง เพราะจะเป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ที่ไม่ใช่มาจากนโยบายของภาครัฐ
“ในช่วงต้นปีราคาส่งออกข้าวขาวไทยประมาณตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ส่วนข้าวสารเดิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.50 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 17.50 บาท หรือเพิ่ม 6 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีหลายประเทศแย่งกันซื้อ เพราะผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนาม กัมพูชา จีน อินเดีย เมียนมา เป็นต้น ประกาศหยุดส่งออกข้าวขาวชั่วคราว”
ที่มา : ไทยรัฐ
เวียดนามกลับมาส่งออกข้าวรักษาความมั่นคงอาหารโลก
นายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุก กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวที่เคยประเทศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และเดิมที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ถึงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
อนึ่ง มีรายงานว่าในตอนนั้นกระทรวงการค้าไม่เห็นด้วยเท่าใดนักกับมาตรการดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเวียดนามปลูกข้าวได้เองและมีการสำรองข้าวไว้บริโภคภายในประเทศมากเกินความต้องการถึง 6.7 ล้านตันเฉพาะปีนี้ ดังนั้นการส่งออกข้าวของเวียดนามควรเดินหน้าต่อไปตามปกติ แต่กระทรวงการคลังจัดทำแผนระงับการส่งออกข้าวเผื่อไว้ถึงกลางเดือนมิถุนายนนี้
อย่างไรก็ตาม หลังยกเลิกแผนการ นายกรัฐมนตรีเวียดนามมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ควบคุมการส่งออกข้าว และเตรียมจัดซื้อข้าว 190,000 ตัน ในปีนี้ เพื่อสำรองไว้สำหรับการบริโคภายในประเทศ โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจะระงับการส่งออกข้าวทันทีที่ครบโควตา
ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และไทย ทั้งปริมาณข้าวจากเอเชียครองส่วนแบ่งในตลาดโลกมากถึงร้อยละ 90 ขณะที่อุปสงค์อยู่ในระดับเท่ากัน และในวิโฟติโรคระบาดเช่นนี้ ความต้องการอาหารบนโลกย่อมสูงขึ้นกว่าปกติ และข้าวเป็นหนึ่งในนั้น โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยที่เปิดเผยกับสำนักงานรอยเตอร์ ระบุว่าราคาเมล็ดข้าวหักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ภายในสัปดาห์เดียว ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-1 เมษายน 2563 ถือเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2556
ที่มา : เดลินิวส์
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.80 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,824 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 267.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,696 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 128 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 324.05 เซนต์ (4,194 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 330.24 เซนต์ (4,290 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 96 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 29.493 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.38 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 5.11 และร้อยละ 5.85 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.86 ล้านตัน (ร้อยละ 6.32 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง แต่ตลาดมันสำปะหลังอยู่ในภาวะชะงักงัน และ
หัวมันสำปะหลัง มีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดต่ำลง ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.14
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.74 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.87 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.67
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.65 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.04
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,974 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน (7,003 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,787 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน (13,787 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.702
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.561 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 9.03 และร้อยละ 8.90 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.77 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.49 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 20.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 23.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 25.59 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.80
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
วันที่ 14 เมษายน 2563 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปาล์มน้ำมันของมาเลเซียฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงเวลาวันที่ 1 – 15 เมษายน 2563 แต่สต็อกน้ำมันปาล์มยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์ ราคาอ้างอิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 เป็นตันละ 2,247 ริงกิตมาเลเซีย อินเดียคาดว่าจะเริ่มให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มอีกครั้งหลังจากมีการจำกัดการนำเข้าในเดือนมกราคม และขยายเวลาการล็อกดาวน์ทั้งประเทศจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม หลังจากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกินกว่า 10,000 ราย ราคาน้ำมันปาล์มดิบยังคงลดลง แม้ว่าจะมีการลดการผลิตลง การลดลงของราคาน้ำมันดิบอาจส่งผลให้มีการนำปาล์มน้ำมันไปผลิตไบโอดีเซลลดลง
ที่มา: The Star news เมื่อวันอังคารที่ 14 เมษายน 2563 เวลา 20.09 (เวลาท้องถิ่นในมาเลเซีย)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,281.28 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,355.29 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.14
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 611.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.13
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ฉบับปิดหีบ ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 74,893,175 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 37,709,700 ตัน (ร้อยละ 50.35) และอ้อยไฟไหม้ 37,183,475 ตัน (ร้อยละ 49.65) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8,294,329 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6,331,644 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 1,962,685 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.68 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 110.75 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำตาลของอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย รายงานว่า ในปี 2563 ยังไม่มีการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจากอินเดียถึงแม้จะเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 5 เช่นเดียวกับประเทศไทย และออสเตรเลีย ทั้งนี้โรงงานน้ำตาลของอินโดนีเซียได้นำเข้าน้ำตาลทรายดิบส่วนใหญ่จากไทย โดยรัฐบาลอนุญาตให้โรงงานน้ำตาลสามารถนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจำนวน 1.44 ล้านตัน ในเดือนมกราคม - มิถุนายน น้ำตาลนี้จะถูกแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.54 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บราซิลคาดว่าจะขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในปีการเพาะปลูก 2563/64 ประมาณ 38.5 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตอยู่ที่ 129 ล้านตัน สูงกว่าปีการเพาะปลูก 2562/63 ที่ประมาณการได้ 123 ล้านตัน และการส่งออกในภาพรวมคาดว่าจะอยู่ที่ 79 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 ล้านตัน จากปี 2562/63 ที่ประมาณการไว้ 77 ล้านตัน นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) กล่าวว่า พื้นที่การเพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 4% ซึ่งสูงกว่าการอัตราการเติบโตเฉลี่ย 2.8% ต่อปี ในช่วง 5 ฤดูกาลที่ผ่านมา โดยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกอาจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความต้องการของโลก ความสามารถในการทำกำไร และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 844.95 เซนต์ (10.20 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 856.4 เซนต์ (10.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 295.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 26.62 เซนต์ (19.28 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 27.07 เซนต์ (19.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.54 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บราซิลคาดว่าจะขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในปีการเพาะปลูก 2563/64 ประมาณ 38.5 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตอยู่ที่ 129 ล้านตัน สูงกว่าปีการเพาะปลูก 2562/63 ที่ประมาณการได้ 123 ล้านตัน และการส่งออกในภาพรวมคาดว่าจะอยู่ที่ 79 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 ล้านตัน จากปี 2562/63 ที่ประมาณการไว้ 77 ล้านตัน นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) กล่าวว่า พื้นที่การเพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 4% ซึ่งสูงกว่าการอัตราการเติบโตเฉลี่ย 2.8% ต่อปี ในช่วง 5 ฤดูกาลที่ผ่านมา โดยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกอาจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความต้องการของโลก ความสามารถในการทำกำไร และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 844.95 เซนต์ (10.20 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 856.4 เซนต์ (10.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 295.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 26.62 เซนต์ (19.28 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 27.07 เซนต์ (19.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.79 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 23.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 953.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.94 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 950.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.92 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 857.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 984.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.95 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 981.25 ดอลลาร์สหรัฐ (31.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 580.25 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,381.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.80 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,375.75 ดอลลาร์สหรัฐ (44.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.18
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 18.24
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.18
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 18.24
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.70 เซนต์(กิโลกรัมละ 38.19 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 53.03 เซนต์ (กิโลกรัมละ 38.57 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.38 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,782 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,800 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,461 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,469 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 894 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.67
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,461 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,469 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 894 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.67
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลงจากที่ผ่านมาได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออาหารประเภทโปรตีนที่ราคาถูกกว่าเนื้อหมู บางบริโภคอาหารอื่นๆที่ซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 1,900 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.96
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ลดลงจากตัวละ 850 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของประชาชนเริ่มเข้าสู่ปกติ ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคไข่ไก่มากขึ้นEgg Board) เพื่อกำกับดูแลและพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันวางแผนการผลิตและการตลาด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ พร้อมทั้งหามาตรการรองรับหากเกิดกรณีไข่ไก่ล้นตลาด หาตลาดส่งออกเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการต้องเกิดความสมดุลเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ทั้งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 304 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 319 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 389 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลงจากที่ผ่านมาได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออาหารประเภทโปรตีนที่ราคาถูกกว่าเนื้อหมู บางบริโภคอาหารอื่นๆที่ซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 1,900 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.96
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ลดลงจากตัวละ 850 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของประชาชนเริ่มเข้าสู่ปกติ ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคไข่ไก่มากขึ้นEgg Board) เพื่อกำกับดูแลและพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันวางแผนการผลิตและการตลาด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ พร้อมทั้งหามาตรการรองรับหากเกิดกรณีไข่ไก่ล้นตลาด หาตลาดส่งออกเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการต้องเกิดความสมดุลเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ทั้งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 304 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 319 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 389 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.23 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 85.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.68 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.05 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.23 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 85.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.68 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.05 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา